การเกิดบลูมบนผิวผลิตภัณฑ์ยาง


    ปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อยในผลิตภัณฑ์ยางคือการเกิดคราบสีขาวถึงเหลืองบนผิวผลิตภัณฑ์ยางหรือที่เรียกว่าการเกิดบลูม (bloom) ซึ่งเกิดจากคือการที่สารเคมีที่เป็นส่วนผสมในยาง (ของแข็งหรือของเหลว) เกิดการแพร่ขึ้นมาที่ผิวของผลิตภัณฑ์ยางเมื่อตั้งทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง เมื่อเกิดการตกผลึกจะกลายเป็นคราบบนผิวของผลิตภัณฑ์ยาง
    ผลเสียของการเกิดบลูม คือ จะทำให้ผลิตภัณฑ์ยางมีรอยฝ้าสกปรกหรือมีสีที่ไม่พึงประสงค์บนผิวโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยางที่มีสีเข้มเช่นสีดำ ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของลูกค้า

นอกจากนี้ การบลูมยังสามารถเกิดขึ้นบนยางคอมพาวนด์ได้ด้วย ซึ่งหากเกิดกับยางคอมพาวนด์ จะทำให้สมบัติการเหนียวติด (tack) ของผิวยางคอมพาวนด์ลดลง ทำให้การติดของยางคอมพาวนด์ที่นำมาประกบกันไม่ดี อาจส่งผลเสียต่อการติดของยางวัลคาไนซ์ที่นำมาติดกันได้

สารเคมีที่มักก่อให้เกิดปัญหาการบลูมได้แก่สารเคมีที่ละลายได้น้อยในยาง เช่น กำมะถัน ตัวเร่งปฏิกิริยาการวัลคาไนซ์บางชนิด และน้ำมัน สารที่ทำให้เกิดการบลูมเหล่านี้สามารถวิเคราะห์หาได้ว่าเป็นสารประเภทใดโดยใช้เทคนิค เช่น Infrared Spectroscopy

หากท่านมีปัญหาเรื่องการเกิดการบลูมของสารเคมีบนผิวผลิตภัณฑ์ยางที่ท่านผลิต และต้องการทราบว่าเป็นสารชนิดใด ศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง (RTEC) สามารถช่วยท่านได้ หากสนใจสามารถติดต่องานบริการวิเคราะห์และทดสอบของ RTEC ได้

นอกจากนี้ RTEC ยังมีการจัดหลักสูตรยางระยะสั้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยียาง รวมทั้งเรื่องการเกิดการบลูม ซึ่งจะช่วยให้ท่านมีความเข้าใจในเทคโนโลยียางมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยียางได้มากขึ้นอีกด้วย

| เช็คอีเมล | เจ้าหน้าที่ |